เหยี่ยวแดง นกนักล่า

เหยี่ยวแดง นกนักล่า 



รูปร่างลักษณะ เหยี่ยวแดงเป็นเหยี่ยวขนาดกลาง ตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ มีความยาวจาก ปลายปาก จดปลายหาง 51 ซม. ตัวผู้มีความยาวจาก ปลายปากจดปลายหาง 43 ซม. รูปร่างล่ำสัน คอค่อนข้างสั้น แต่ใหญ่ และ แข็งแรง หัวค่อนข้างโต เช่นเดียวกับเหยี่ยวทั้งหลาย ตาโต ปากบนเป็นของุ้มแหลมคม เพื่อใช้ในการฉีกเหยื่อ ปากล่างสั้นกว่าปากบน เมื่อหุบปากสนิท ปากล่างจะซ่อนอยู่ใต้ปากบนพอดี บริเวณโคนปาก มีหนังเปลือยเปล่า เรียกว่า Cere โดยรูจมูกเปิดออกที่แผ่นหนังนี้ ปีกของเหยี่ยวแดง มีลักษณะ ค่อนข้าง ยาว และ ปลายปีก ค่อนข้างแหลม ขนปลายปีก มี 10 เส้น ขนหางยาวปานกลาง และ ปลายหางค่อนข้าง มน ขาสั้นแต่แข็งแรง ด้านหน้าของขา ท่อนล่าง มีเกล็ดขนาดใหญ่ เรียงซ้อนทับกัน นิ้วเท้ายื่นไปข้าง หน้า 3 นิ้ว และ ยื่นไปข้างหลัง 1 นิ้ว เช่นเดียวกับเหยี่ยวอื่นๆ นิ้วเท้าหลังค่อนข้างใหญ่ และ แข็งแรง มาก เล็บเท้าโค้งแหลมคม แข็งแรง ในเวลาที่มันใช้กรงเล็บขยุ้มเหยื่อ เล็บหลังจะ แทง ทะลุตัวเหยื่อ ทันที จึงทำให้เหยื่อบาดเจ็บ หรือ ตายได้ทันทีเหมือนกัน >> ข่าวเด่นวันนี้ เหยี่ยวล่าเหยื่อฉลาม?



ถิ่นอาศัย  ในต่างประเทศ พบที่อินเดีย จีน ไหหลำ ไต้หวัน เวียดนาม เมียนมาร์ ลาว กัมพูชา มาเลเซีย  บอร์เนียว ในประเทศไทย พบในป่าดงดิบ ป่าโปร่ง บนต้นไม้สูง ที่ราบถึงสูง 2,500 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 

    สถานภาพ  เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อย และเป็นนกอพยพ เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535

    ลักษณะทั่วไป 

     เป็นนกขนาด 76-84 ซม. ตัวผู้ตัวเมียคล้ายกัน หนังรอบตาและหนังรอบจมูกเหลือง ปากเหลือง แต่ปลายปากดำ ท้ายทอยมีหงอนสั้น ๆ ปลายแต้มจุดขาว จะพองหงอนฟูเพื่อแสดงอาการเตรียมต่อสู้หรือขู่นกอื่นๆ หัวและลำตัวสีน้ำตาลเข้ม ท้องสีจางกว่า มีจุดขาวขอบดำกระจาย ขนปีกบินดำมีแถบขาวพาดกลาง หางดำมีแถบขาวใหญ่พาดกลาง  ขณะบินวงปีกกว้างเห็นแถบขาวโค้งกว่าเหยี่ยวดำ ตาเหลือง แข้งและตีนเหลือง

                  นกวัยอ่อน แถบตาใหญ่สีน้ำตาล หัวและลำตัวด้านล่างขาวแกมน้ำตาลอ่อน อกและท้องมีจุดใหญ่กระจาย สีข้างมีลายขวาง หัวและลำตัวด้านบนมีสีน้ำตาลมีลายเกล็ด จากขอบขนสีจางปีกมีลายแถบแคบๆ สีเข้ม

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม