มวยคาดเชือก

มวยคาดเชือก

    มวยไทยดั้งเดิมจะใช้วิธีพันมือแทนนวม ซึ่งเรียกว่าการคาดเชือก หรือที่ทางปักษ์ใต้เรียกว่า ถักหมัดมีหลักฐานบันทึกไว้ว่า อย่างน้อยที่สุดการคาดเชือกนี้ มีมาตั้งแต่ครั้งอยุธยาตอนกลางแล้ว


วัตถุประสงสำคัญของการคาดเชือกก็คือ เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้แก่อาวุธสำคัญของมวยไทย คือหมัดให้มั่นคง แข็งแกร่งกว่าการกำหมัดเปล่าธรรมดานั่นเอง หมัดที่คาดเชือกแล้วสามารถสร้างความบอบช้ำให้คู่ต่อสู้ได้ชะงัดนักด้วยส่วนที่เป็นปมของเชือกคล้ายก้นหอย ซึ่งเป็นเทคนิคการพันของแต่ละทองถิ่นทั้งไม่เคยปรากฎว่ามีมวนคาดเชือกที่ใช้ด้ายดิบคลุกแป้ง แล้วผสมเศษแก้ว หรือ นำไปชุบน้ำมันยาง เพื่อให้เกิดความแข็งและคม สำหรับไว้ทำร้ายคู่ต่อสู้ เช่นที่คนสมัยปัจจุบันมักเล่าลือหรือเชื่อกัน

 วิธีการคาดเชือก นักมวยต้องคว่ำมือเหยียดนิ้วกางออกเต็มที่ ครูมวยจะสวมประเจียดหรือมงคลไว้บนหัวนักมวยก่อนเครื่องคาดอื่นๆ เช่น ตะกรุด พิสมร ครูบางท่านอาจลงธนูมือ หรืออาวุธ ๔ ประการ หรืออาวุธพระเจ้าสุดแท้แต่ความนิยมแล้วแล้วเริ่มพันด้ายดิบตรงข้อมือก่อน เพื่อให้กระดูกทั้ง ๘ ชิ้นกระชับมั่นคง ไมใคล็ดไม่ซ้น จากนั้นพันรอบๆหลังมือและซองมือไปจนจรดปลายนิ้วอย่างหลวมๆ แล้ววนหันกลับมาทางข้อมืออีกครั้งหนึ่ง แล้วสอดได้รวบรั้งจากปลายนิ้วเข้ามาจนเลยง่ามมือ เพื่อใหข้อนิ้วโผล่ ถึงช่วงนี้หมัดที่คาดเชือกไว้ยังคงอ่อนนุ่มอยู่ พอได้ดิเหลือการพันอีกประมาณ ๑ เมตรครูผู้คาดหมัดจะบิดด้ายดิบให้เป็นเกลียวเขม็งและแข็งเป็นตัวหอย ตัวนักมวยเองพอคาดถึงช่วงนี้จะต้องขยับนิ้วเพื่อป้องกันอาการเหน็บ แล้วสอดก้นหอยเข้าทีละตัว เรียงรายให้ทั่วหลังหมัด จนมีความตึงขึ้นทุกที เท่านี้ยังไม่พอ เพราะปมก้านหอยอาจยังพลิกได้อยู่ จึงต้องใช้ด้ายขนาดเท่าก้านไม ขีด ยาวประมาณ ๑ เมตร ซึ่งเรียกว่า หางเชทือก มาใช้สัก คือสอดยึดตรึงก้นหอยที่เอียงไปเอียงมาให้ตั้งตรง ทำนองเดียวกับหนามทุเรียนที่ตัดปลายหนามแหลมออก  >> มวยตู้ แทงมวย << 

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม